รู้จักเรา

มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่กินเข้าไปแรกๆจะมีรสฝาดๆแต่พอดื่มน้ำตามก็จะได้รสหวานมีประโยชน์ถือเป็นยาได้ซึ่งก็เป็นความหมายเป็นนัยที่ตรงกับการทำงานของเราละครแปลกๆแต่กลับสนุกสนานยิ่งดูไปก็ยิ่งได้สาระประโยชน์ที่เอาไปใช้ในชีวิตได้เสมือนเป็นยาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน แต่ถ้าพูดถึงกลุ่มละครมะขามป้อมแล้วละก็คงต้องย้อนหลังไปในอดีตซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงของความเป็นมาและเป็นไปของกลุ่มละครมะขามป้อมดังนี้

ยุคละครเร่ (Touring Theatre) และการอบรมทักษะละคร– สื่อการสอนแบบละครพ.ศ.2523 – 2531

 กลุ่มสื่อชาวบ้าน "มะขามป้อม" เริ่มเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมบอบช้ำจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เป็นห้วงเวลาของการฟื้นฟู สังคมจากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยยุค14 ตุลาคม 2516 และ6 ตุลาคม2519 ที่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งใน
พ.ศ.2523โดยเป็นกลุ่มที่มีความถนัดด้านการละครนักเขียนกวีนักดนตรีนักแสดงกลุ่มสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)ใช้กระบวน  การละครเร่ ใช้กระบวนการละครเร่เป็เครื่องมือในการทำงานเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมชุมชนในฐานะเป็นสื่อกลางเล็กๆที่สะท้อนปัญหาชาวบ้าน สู่สังคมรูปแบบการทำงานหลักคือการแสดงละครเร่และละครรณรงค์จากนั้นเริ่มพัฒนาเพิ่มเติมการอบรมทักษะละครการแสดง และการอบรมครูในระบบการศึกษาเพื่อผลิตสื่อการสอนแบบละคร

ยุคละครเพื่อการพัฒนา(Community Theatre) ลิเกมะขามป้อมและ"มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) พ.ศ.2543 - ปัจจุบัน

"ลิเกร่วมสมัย" คือเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของยุคนี้เริ่มลดรูปแบบละครตะวันตกแล้วกลับไปใช้รูปแบบของสื่อพื้นบ้านและศิลปะแบบประเพณีนิยมมาปรับปรุงให้การนำเสนอสาระร่วมสมัยมากขึ้นยังคงใช้กระบวนการละครเยาวชนเพื่อการพัฒนาโดยเน้นไปที่"การพัฒนาชุมชน" และเกิดแนวคิดเรื่องละครชุมชนการสื่อสารเพื่อชุมชนกลยุทธ์หลักจึงเป็นการมุ่งพัฒนาศักยภาพ ให้เยาวชนในชุมชนสามารถรวมตัวกันทำงานละครเพื่อการพัฒนาภายในชุมชนของตนเองได้ด้วยตนเองมุ่งเน้นการพัฒนากลุ่ม ละครเยาวชนที่มีความยั่งยืนระยะยาวนอกจากนี้ยังมีการทำงานต่อเนื่องในลักษณะการฝึกอบรมด้านละครเพื่อการพัฒนาให้้แก่ครูผู้สอนนักเรียนองค์กรพัฒนาอื่นๆ

 ด้านการแสดงได้ขยับมาทำงานกับชนชั้นกลางและปัญญาชนในเมืองโดยใช้สื่อพื้นบ้านเป็นรูปแบบหลักในการนำเสนอ สาระต่างๆมีการสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปินในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เห็นชัดเจนได้จากละคร นาคะวงศ์(2548) ในโอกาสครบรอบ 25 ปีมะขามป้อมซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มคนในหลายระดับตั้งแต่ชาวบ้านผู้สนใจทั่วไป นักวิชาการ นักศึกษา นักการละครเจ้าหน้าที่สถานทูตคนในแวดวงสังคมชั้นนำฯลฯผลพวงของความร่วมมือจากละคร พื้นบ้านเรื่องนี้โดยไม่รู้ตัวมะขามป้อมได้สร้างค่านิยมใหม่ๆกับกลุ่มคนใหม่ที่มีโอกาสได้ชมละครด้วย