เรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเมื่อต้องยื่นภาษี
หน้าที่ของคนทำงานทุกคนไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ก็ต้องยื่นเรื่องเสียภาษีกันทุกปี เมื่อถึงเทศกาลที่ต้องยื่นเสียภาษีประจำปี ก็ยังมีหลายคนที่ยังคงสับสนและเกิดความเข้าใจผิดอยู่ ลองมาสำรวจดูว่ามีส่วนไหนบ้างที่ยังเข้าใจผิด
1.คำนวณภาษีเงินได้ผิด
หลายคนยังคงสับสนวิธีคำนวณภาษีของตัวเอง สำหรับมนุษย์เงินเดือนสามารถใช้วิธีคำนวณได้ดังต่อไปนี้
(เงินได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค * อัตราภาษี
2.การหักภาษี ณ ที่จ่ายคือการจ่ายภาษีแล้ว
เมื่อได้รับเงินประเภทเงินเดือนหรือเงินค่าจ้างต่างๆ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถือว่าเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าในแต่ละครั้งที่ได้รับเงิน ผู้หักภาษีมีหน้าที่ส่งภาษีล่วงหน้าให้แก่กรมสรรพากรและบุคคลนั้นมีหน้าทีนำรายได้รวมทั้งปีมาคำนวณตัวเลขภาษีเงินได้ประจำปีอีกครั้งเมื่อต้องยื่นภาษีประจำปี นำภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วมาหักออกจากภาษีเงินได้ประจำปีที่คำนวณได้ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นเป็นภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือขอคืนแล้วแต่กรณี ดังนั้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายจึงไม่ใช่การจ่ายภาษี
3.ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ไม่ต้องยื่นเสียภาษี
หลายคนคิดว่าหากมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาทไม่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ที่จริงแล้วจำนวนเงิน 150,000 บาทหมายถึงเงินได้สุทธิ ผู้มีเงินได้ไม่เกิน 150,000 บาทจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิคำนวณจากรายได้ทั้งปีหักค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อนทางภาษี
4.ทำประกันชีวิตสามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
บางคนทำประกันชีวิตไว้หลายกรมธรรม์หวังว่าจะนำมาใช้ลดหย่อนภาษี แต่ที่จริงกฎหมายกำหนดให้หักค่าลดหย่อนสำหรับการทำประกันชีวิตได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งเคดับบลิวไอ ประกันชีวิต มีประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้นั่นก็คือ ประกันออมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มสุดคุ้ม
5.ถ้าไม่สมัครพร้อมเพย์ จะไม่ได้ภาษีคืน
การสมัครพร้อมเพย์ช่วยทำให้เราสามารถคืนภาษีได้ไวขึ้น แต่ในกรณีที่ไม่มีพร้อมเพย์ ก็สามารถนำหนังสือแจ้งคืนภาษีไปติดต่อที่ธนาคารกรุงไทย เพื่อนำเงินภาษีเข้าบัญชีได้
เรื่องภาษีไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยาก แต่ต้องเตรียมตัวให้ดี เตรียมเอกสารให้ครบและไม่ลืมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เพื่อที่ว่าปีหน้าจะได้ยื่นภาษีกันได้อย่างสบาย และนำยื่นภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน