เรื่องที่ควรรู้และควรทำก่อนตัดสินใจเสริมจมูก
จมูกเป็นตำแหน่งกลางใบหน้าที่สามารถช่วยให้ใบหน้าดูมีมิติมากยิ่งขึ้น ยังรวมถึงปัจจัยความเชื่อเรื่องโหงวเฮ้ง ที่ทำให้หลายคนมักให้ความสำคัญกับความงดงามของจมูก เพราะเชื่อว่าจะช่วยปรับบุคลิกและส่งเสริมโชควาสนาในด้านอื่นๆ ตามความเชื่อส่วนบุคคล
นอกจากนี้การทำจมูกก็ยังรวมอยู่ใน 5 อันดับการทำศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก ได้แก่ การดูดไขมัน, การผ่าตัดเสริมหน้าอก, การศัลยกรรมเปลือกตา, การผ่าตัดเสริมจมูก และการผ่าตัดตกแต่งหน้าท้อง สอดคล้องกับผลสำรวจความนิยมในการทำศัลยกรรมของผู้คนทั่วโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำศัลยกรรมจมูกมีอะไรบ้าง
1.ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าทำจมูกไปเพื่ออะไร
ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรม ต้องคิดให้ดีก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร วัตถุประสงค์มีหลายอย่าง เช่น ทำจมูก เพราะอยากสวยขึ้น อยากถ่ายรูปสวยขึ้น ทำแล้วรู้สึกตัวเองมีความสุขมากขึ้น มั่นใจมากขึ้น หากรู้ตัวแล้วว่าการทำศัลยกรรมจะทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น ถึงค่อยมาเลือกว่าจะทำที่ไหน คุณหมอท่านใด และหัตถการประเภทอะไร
2.หาข้อมูลเยอะๆ ประกอบการตัดสินใจ
หลายคนมักจะหาข้อมูลน้อยก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรม โดยเฉพาะคนที่อาจไม่เดือดร้อนเรื่องเงินทอง เพราะรู้สึกว่าจ่ายได้ เสียได้ ไม่เป็นไรหรอก หากทำมาแล้วสวยนั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ถ้าหากทำมาแล้วพัง สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีก ไม่คุ้มกับที่จะเสียเลย การข้อมูลเยอะๆ ศึกษาให้เข้าใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
3.ตรวจสอบข้อมูลศัลยแพทย์ ผ่านเว็บไซต์แพทยสภา
วิธีการง่ายๆ เลย ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง หากเราอยากจะตรวจสอบว่าคุณหมอที่จะทำศัลยกรรมให้เรา เป็นหมอจริงหรือเปล่า และมีความเชี่ยวชาญด้านไหน เข้าเว็บไซต์แพทยสภา (www.tmc.or.th) กรอกชื่อ-นามสกุลของคุณหมอในแพทยสภา หรือจะสืบค้นผ่าน Google ในเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรม นอกจากหาข้อมูลคลินิกหรือเรื่องทั่วไปแล้ว ควรทราบด้วยว่า คุณหมอที่จะทำศัลยกรรม ท่านเป็นใคร ชื่ออะไร มีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน หากยังหาข้อมูลส่วนนี้ไม่ได้ ให้ศึกษาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอแพทย์ที่ถูกใจและมีรีวิวที่น่าเชื่อถือ
สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจอยากทำศัลยกรรม อันดับแรกต้องหาข้อมูลดีๆ ต้องรู้โจทย์ของตัวเองต้องการทำอะไร หรือต้องการปรับแก้ตรงไหน ทำแล้วจะเสริมความมั่นใจได้อย่างไรบ้าง ศึกษาข้อมูลโรงพยาบาลหรือคลินิกไหน มีคุณหมอท่านไหนที่เชี่ยวชาญบ้าง แล้วเข้าไปปรึกษาพูดคุยกันว่าทัศนคติตรงกันไหม เคสที่ผ่านๆ มาเป็นอย่างไรบ้าง หากหาข้อมูลละเอียดดีแล้ว มั่นใจในการตัดสินใจและลงมือทำได้เลย