ทำความรู้จักหลักการทำงานของฮีตเตอร์และลวดฮีตเตอร์

หากจะพูดถึงฮีตเตอร์ หลายต่อหลายคนก็มักจะนึกถึงอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างความอบอุ่นภายในบ้านเรือน แต่ก็จะมีฮีตเตอร์อีกหนึ่งประเภทที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากนัก นั่นก็คือ ฮีตเตอร์อุตสาหกรรม

สาเหตุที่ฮีตเตอร์อุตสาหกรรมยังไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายก็เป็นเพราะ มีงานใช้งานแค่เฉพาะกลุ่ม คือ กลุ่มงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพียงเท่านั้น แต่ในวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับฮีตเตอร์อุตสาหกรรมกันให้มากขึ้น ด้วยการพาทุกคนมาดูหลักการทำงานและส่วนประกอบของเจ้าฮีตเตอร์อุตสาหกรรมนี้

หลักการทำงานของฮีตเตอร์

หลักการทำงานของฮีตเตอร์อุตสาหกรรมนั้นก็คล้ายกับหลักการทำงานของฮีตเตอร์ในบ้านเรือน โดยจะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าตรงไปยังตัวนำที่เป็นลวด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขดลวดความร้อนทำจากนิเกิล-โครมเมียม ที่มีความต้านทานสูง ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานจะสูญเสียพลังงานแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน และความร้อนที่เกิดขึ้นจะถ่ายเทไปสู่ยังวัตถุที่มีความร้อนน้อยกว่า นั่นคือ ของเหลว หรือ วัตถุเป้าหมายที่เราต้องการให้เกิดความร้อน

ทั้งนี้การถ่ายเทความร้อนของฮีตเตอร์อุตสาหกรรมก็มีหลายรูปแบบทั้ง การนำความร้อน การพาความ และ การแผ่รังสีความร้อน โดยส่วนประกอบหลักของฮีตเตอร์อุตสาหกรรมก็จะประกอบไปด้วย

  • ฉนวนแมกนีเซียมออกไซด์ – เป็นฉนวนที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นตัวป้องกันภายนอก นำมาใช้เป็นตัวกั้นระหว่างฮีตเตอร์ ลวดฮีตเตอร์ และปลอกโลหะ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้าที่อาจมาจากลวดฮีตเตอร์ไปยังผิวโลหะด้านนอก
  • สแตนเลส - ส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการผลิตฮีตเตอร์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการเลือกมาใช้และคุณสมบัติที่ต้องการนำมาใช้
  • ลวดฮีตเตอร์ – เป็นที่ให้กำเนิดความร้อนเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งจะมีการกระจายความร้อนออกไปทั่วทิศทาง ลวดฮีตเตอร์ นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ นั่นคือ ประเภทนิเกิล และ ประเภทเหล็ก แต่ส่วนใหญ่ลวดนิเกิลมักจะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจาก มีจุดหลอดเหลวที่สูง ไม่เกิดการออกซิเดชั่นแม้ในจะอยู่ในอุณหภูมิที่สูง การยืดตัวน้อยเมื่อความร้อนสูงขึ้น ราคาย่อมเยาว์ โดยขดลวดฮีตเตอร์ทั้ง 2 ประเภทสามารถอยู่ในรูปแบบของ ม้วนเกลียว ริบบิ้น หรือเส้นตรงก็ได้