Community Theater

การอบรมวิทยากร 
ถือเป็นการให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์จากบุคคลากรของมะขามป้อมที่ส่งผ่านไปสู่เจ้าหน้าที่ ที่ทำงานในองค์กรด้านการพัฒนาองค์กเกี่ยวกับผู้อพยพ องค์กรที่ทำงานเพื่อเรียกร้องสันติภาพ รวมถึงการอบรมทักษะ ต่างๆให้แก่นักแสดงละครนักวิชาการ คณะกรรมการในชุมชนโดยใช้วิธีการและกระบวนการอบรมของ Theatre for Community Cultural Development (TCCD) เพื่อนำไป ประยุกต์กับวัฒนธรรมชุมชนให้เกิดความเหมาะสม 

ในแต่ละท้องถิ่น การให้การอบรมเช่นนี้ยังนำมาประยุกต์ใช้กับสถาน พินิจเด็กและเยาวชน โสเภณี และผู้อพยพได้อีกด้วย ซึ่งการให้บริการด้านนี้ได้สร้างประโยชน์ สร้างคุณค่าต่อผู้ที่เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นทางมะขามป้อมจึงได้รับเชิญ ให้ไปจัดการอบรมแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำโดยคณะวิทยากรที่มีประสบการณ์สูงจากประสิทธิภาพของการ จัดอบรมวิทยากรของทางมะขามป้อมนั้น ได้ขยายตัวจากในประเทศไปสู่ระดับภูมิภาคหนึ่ง ในโครงการที่จัดอบรมในระดับ ภูมิภาคคือ มะขามป้อมได้พัฒนาความสัมพันธ์กับโครงการเยาวชนกะเหรี่ยงในออสเตรเลีย (โครงการเยาวชนกะเหรี่ยงของออสเตรเลีย) จนได้จัดอบรมให้แก่ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงตามพรมแดน ไทย-พม่า และอบรม เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลซึ่งครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษาเกี่ยวกับมนุษยธรรมการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างกัน จากความสำเร็จของโครงการนี้ ทำให้มะขามป้อมกำลังพัฒนา กิจกรรมนี้ให้ขยายขอบเขตของงานกว้างออก ไปกลาย เป็น กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา (Study Tour) เพื่อให้กลายเป็นกิจกรรมการอบรมที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น และ สามารถดึงความสนใจจากผู้เข้าร่วมอบรมในระดับนานาชาติต่อไป 

 

เป็นกิจกรรมที่มะขามป้อมลงไปคลุกคลี ทำงาน ทำกิจกรรม หรือผลิตผลงานต่างๆโดยดึงชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ ต้นจนเสร็จสิ้นออกมาเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ชุมชนที่มะขามป้อมเข้าไปทำกิจกรรมด้วยจะอยู่ บริเวณภาคเหนือ บริเวณ ตะเข็บชายแดนประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ผลงานของกิจกรรมท้องถิ่นที่ผ่านมา เช่น โครงการกลุ่มเยาวชนมะขามแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการอบรมชาวเผ่าปะหร่อง (ดาระอั้ง) กับหมู่บ้านปางแดงในอำเภอเชียงดาว โครงการอบรมชาว กะเหรี่ยงในค่ายอพยพ ด้วยประสบการณ์ที่ได้พบเจอ มาจากการลงไปทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านกับคนในชุมชนมาอย่างยาว นานทำให้ มะขามป้อมมีแนวคิดที่จะพัฒนาขยายความรู้เหล่านี้ จัดทำเป็นโครงการต่าง ๆ เพื่อนำไปจัดกิจกรรมในโรงละคร ศูนย์เชียงดาวของมะขามป้อมต่อไปในอนาคต เพื่อให้การทำงานของฝ่ายละครชุมชน ด้านกิจกรรมท้องถิ่นของมะขามป้อม เป็นละครเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมชุมชนอย่างแท้จริงหรือเรียกสั้น ๆ ว่า TCCD (Theatre for Community Cultural Development) เราทำงานกับเยาวชนโดยเฉพาะเพื่อคานโครงสร้่างอำนาจ ที่มีปรากฏอยู่ในสังคมไทย ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมทาง สังคม เศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งกระบวนการเรียกร้องให้คนไทย ที่สภาพจิตถดถอยต่อการศึกษา ธรรมเนียมปฏิบัติทาง ศาสนา อิทธิพลของทางการ เด็กถูกพ่อแม่ข่มขู่ ผลกระทบจากความ ยากจน สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง กระบวนการละครชุมชนก้าวหน้า โครงการละครชุมชนระยะยาวถือเป็นงาน สำคัญของมะขามป้อมมาโดยตลอด

ตัวอย่างขั้นตอนหลักๆของการอบรม

- Introductions/Orientation แนะนำ / ปฐมนิเทศ 
- Familiarization การสร้างความคุ้นเคย 
- Personal Context บริบทส่วนบุคคล 
- Community context บริบทชุมชน 
- Skills Training การฝึกทักษะ 
- Thematic Community Research การเก็บข้อมูล / การค้นคว้าหาแก่นของชุมชน 
- Defining form/style หารูปแบบในการนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหา 
- Performance making การสร้างงานแสดง 
- Community event การจัดงานของชุมชน 
- Feedback การรับฟังความคิดเห็น 
- Evaluation การประเมินผล 
Strategic Application/Forward Planning การประยุกต์ใช้ / การวางแผนกิจกรรมต่อเนื่องหลังการอบรม

 

ในหนึ่งอบรม อาจมีผู้เข้าร่วมกระบวนการกลุ่มตั้งแต่ 10 ถึง 30 คน ลักษณะเด่นของการอบรมคือความสนุกสนาน การนำเอาการละเล่นแบบไทยๆ และเพลงพื้นบ้าน มาใช้ร่วมกับการฝึกฝนทักษะทางละคร การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการใช้พลังของการแสดงเป็นเครื่องมือแสดงความต้องการของชุมชน รูปแบบโครงการระยะยาวมีดังนี้

ขั้นเริ่มต้น(ระดับชุมชนท้องถิ่น)

ระยะเวลา 1 ปี -วางแผนศึกษา / กระบวนการหาผู้ประสานงานชุมชน / เลือกผู้นำโครงการ -แนะนำให้รู้จักมะขามป้อม ด้วยการแสดงละครย่อย / การประชุมเชิงปฏิบัติการ -ตั้งกลุ่มเยาวชน / ทำโครงสร้างกิจกรรม / จำแนกเนื้อหา -อบรมเชิงปฏิบัติการละครชุมชนเต็มรูปแบบ -ผลิตผลงานละคร/ จัดการแสดง -ทำเอกสาร / ประเมินผล / วางแผนในขั้นต่อไป

ขั้นเริ่มสอง(ระดับชุมชนท้องถิ่น) 

ระยะเวลา 1 ปี -การเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม / ทบทวนและปรับปรุงโครงการ / วางโครงสร้างโครงการ -กิจกรรมการอบรมเต็มรูปแบบ / อบรมทักษะละครขั้นสูง / วางแผนยุทธวิธี -ผลิตผลงานละคร / จัดการแสดง -ทำเอกสาร / ประเมินผล / วางแผนในขั้นต่อไป 

ขั้นให้การอบรมและเผยแพร่ (ระดับอำเภอหรือเขต) 

ระยะเวลา 1 ปี - เยี่ยมพื้นที่ -อบรมแกนนำ -ประสานงานการแสดง และซ้อมการแสดง -เร่แสดงอำเภอ หมู่บ้าน / จัดเวทีเสวนาชุมชน / ประชุมเชิงปฏิบัติการสั้นๆ -ติดตามผล / ประเมินผล / ทำเอกสาร / วางแผนในขั้นต่อไป

ขั้นเครือข่าย(ระดับจังหวัด) ระยะเวลา1 ปี 

-จัดมหกรรมละครชุมชน / ค่ายละคร 
-การประชุมให้คำปรึกษาผู้แทนชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนรวมทั้งจัดตั้งเครือข่าย 
-จัดตั้งองค์กรกลุ่มละครเยาวชนของตนเอง 

ระดับการให้ความร่วมมือและขยายผล(ทุกระดับ)

ระยะเวลา 1 ปี ระดับชุมชน -ดูแลให้กลุ่มละครชุมชนดำเนินการอยู่ได้ พัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ จัดตั้งศูนย์ชุมชน / วางแผนกิจกรรม ระดับอำเภอ - การอบรมขยายผล / แลกเปลี่ยน / เสวนา ระดับจังหวัด - กิจกรรมเครือข่าย ระดับชาติ - นำเสนอผ่านสื่อ / ประกาศนโยบาย / จัดหน่วยการอบรม 

โครงการเหล่านี้ได้ทำให้เกิดกลุ่มละครเยาวชนอิสระในชุมชน ซึ่งได้สืบสานงานและขยายการเข้าถึงชุมชน 
ทั้งภายในชุมชนของตนเองและอำเภอใกล้เคียง กลุ่มละครเยาวชนเหล่านี้ ได้แก่ 

 

กลุ่มเยาวชนมะขามแก้วจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ก่อตั้งขึ้นในปี 2541 มะขามแก้วตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมืองแห่งขุน เขา ติดชายแดนพม่า กลุ่มนี้ประกอบไปด้วยเยาวชน อายุตั้งแต่ 15-18 ปี จากชนกลุ่มน้อยเผ่ากะเหรี่ยง ลาฮู ลีซุ ฉานและม้ง โครงการของมะขามแก้วเน้นไปที่เรื่องเอดส์และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเยาวชนและวัฒนธรรมของ ตนเอง กับการดำรงชีวิตตามแบบฉบับคนภูเขา การมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเนื้อหาสำคัญที่กลุ่มใช้เรียนรู้ผ่าน ทางละคร

กลุ่มมะเขือแจ้จังหวัดพะเยา
กลุ่มละครเยาวชนมะเขือแจ้ (ตั้งชื่อตามผักพื้นบ้านชนิดหนึ่ง) นั้น เริ่มแรก ประกอบด้วยเยาวชนอายุ 12-22 ปี และได้เริ่มงานมาตั้งแต่ปี 2536 โครงการ นี้พัฒนาจากผลกระทบของเอดส์ต่อชุมชนอำเภอดอกคำใต้เป็นที่รู้จักในฐานะ ศูนย์กลางการส่งเด็กสาวไปเป็นโสเภณีจะเห็นได้จากการที่ไม่มีคนวัยทำงานในพื้นที่ การพบผู้ติดเชื้อ HIV ในชุมชนและความคลุมเครือของการมีเศรษฐี ใหม่ ที่น่าจะได้เงินจากการค้าโสเภณี 

กลุ่มละครเยาวชนเพื่อชุมชนดาวลูกไก่อ.นครไทยจ.พิษณุโลก
เป็นกลุ่มเยาวชนในตำบลหนองกะท้าว ที่สามารถบริหาร จัดการและดำเนิน งานภายในกลุ่มด้วยตัวเอง มีการดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสามารถ เชื่อมโยงกลุ่มกับชุมชนของตน รวมไปถึงชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้โดยมี แนวความคิดในการทำงานด้วยการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม จัดว่าเป็นกลุ่ม 
เยาวชนที่มีความเข้มแข็งและมีบทบาทมากในชุมชนหนองกะท้าว ซึ่งเป็นหนึ่งใน 
กรณีศึกษาที่จัดว่าประสบความสำเร็จสูงเกินความคาดหมาย 

กลุ่มเยาวชนสืบสานวัฒนธรรมครองแครง อ. เสนา
จ. พระนครศรีอยุธยา

เป็นกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชนดั้งเดิม ที่มีรากฐานด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน ของชุมชนอย่างเข้มแข็งมาก่อน และเป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญและสนับ สนุนเยาวชนในด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างชัดเจน แต่ก็เป็นชุมชนที่ได้รับผล กระทบจากการขยายตัวของภาอุตสาหกรรมและความเป็นเมือง ในขณะ เดียวกันก็เป็นชุมชนตัวอย่างทีประชาชนมีความพยายามในการปรับตัวและ ดำรงอยู่ภายใต้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว กรณี ศึกษาในพื้นที่นี้มีความน่าสนใจ เพราะเยาวชนสมาชิกของกลุ่มครองแครงฯ นั้นเป็นเยาวชนที่มีพื้นฐานครอบครัว ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมดีกว่าเยาวชน อีกสามพื้นที่ จึงก่อให้เกิดคำถามว่าผลการพัฒนาในชุมชนนี้จะมีความแตก ต่างจากชุมชนอื่นๆ อย่างเด่นชัดหรือไม่ อย่างไร 

กลุ่มฝันละไม จังหวัดสงขลา
ฝันละไมเป็นกลุ่มพิเศษที่พัฒนามาจากการอบรมเยาวชนในสถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา ในภาคใต้ ของประเทศไทย เป็นกิจกรรมการละครเพื่อการพัฒนาที่ใช้เวลา 3 เดือนได้ช่วยก่อรูปก่อร่างกลุ่มฝันละไม กระบวนการของ การรักษาด้วยการแสดงและการสะท้อนภาพตนเอง ความสำเร็จของโครงการฯเห็นได้จากกิจกรรมที่ขยายออกไปนอกสถานพินิจ เด็กหลายคนยังคงร่วมกิจกรรมหลังจากพ้นโทษไปแล้ว หนึ่งในนั้นร่วมการแสดงเรื่อง The Beauty of War ที่เร่แสดงในยุโรปในปี 2546 สมาชิกกลุ่มได้แยกย้ายกันไป แต่ยังคงติดต่อกันและสถานพินิจยังคงประยุกต์กระบวนการละครมาใช้อยู่